Welcome to the online world./

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Assignment2

Search Engine คืออะไร
เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป


Search Engine มีอะไรบ้าง

คนิคการค้นหาข้อมูลบน Internet
          ทุกท่านคงได้ทราบมาแล้วว่า Internet มีข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล แต่บ่อยครั้งที่เราต้องการข้อมูลบางอย่างที่แน่ใจว่ามี หรือน่าจะมีใน Internet แต่กลับหาไม่พบ
          ปกติแล้วการเข้า Website เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการในทันทีทันใดนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือ เราทราบ URL ของ Web Page นั้น ๆ แล้วป้อนเข้าไปในช่อง Address ของ Web Browser เช่น
          ซึ่งเป็น URL ของ Website ที่แสดงรายงานผู้ป่วยโรค SARS ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่สนใจกันมากในขณะนี้ กรณีนี้เราได้ทราบ URL มา จึงได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว แต่มีบ่อยครั้งที่เราไม่ทราบ URL พวกนี้ แต่ต้องการหาข้อมูลที่ต้องการให้ได้อย่างรวดเร็ว ฉบับนี้จะแนะนำเทคนิคการค้นหาข้อมูลในInternet โดยใช้ Search Engine จาก Web site ที่เปิดให้บริการ
ค้นหาข้อมูลบน Intenet 
Search Engine ที่นิยมใช้
          Search Engine ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก ได้แก่
- http://www.google.com
- http://www.altavista.com
- http://www.yahoo.com
- http://www.infoseek.com
- http://www.lycos.com
- http://www.webcrawler.com
          สำหรับ Search Engine ที่สามารถค้นหาคำภาษาไทย และค้นหา Web Site ของไทย ได้แก่
- http://www.google.com
http://search.sanook.com
- http://www.siamguru.com
- http://www.thaiseek.com
- http://search.cscoms.com/
การใช้ Search Engine หาข้อมูลที่ต้องการ
          อันดับแรกต้องเข้าใจว่า Search Engine แต่ละแห่งนั้น แม้จะใช้ค้นหาข้อมูลบน Web เหมือนกัน แต่อาจจะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ถ้าจะใช้ค้นหาให้ได้ประสิทธิภาพจริง ๆ ควรอ่านวิธีการใช้งานของ Search Engine นั้น ๆ ด้วย สำหรับหลักการใช้ Search Engine โดยทั่วไป เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ มีดังนี้
1. ค้นหาจาก Directory หรือ Category  - Web Site ที่ใช้ค้นหาส่วนใหญ่มักมีการจัดทำหมวดหมู่ (Category หรือ Directory) ของข้อมูลต่าง ๆ ไว้แล้ว ถ้าเราทราบว่าสิ่งที่เราต้องการค้นหา ควรจะอยู่ในหมวดหมู่หรือหัวข้อใด ก็ควรเข้าไปดูและตรวจสอบในหมวดหมู่ดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากขึ้นและยังมีโอกาสเลือกสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย
2. ค้นหาจาก Search Engine หลาย ๆ แห่ง  - เนื่องจากข้อมูลใน Internet มีมากมายมหาศาล ไม่มี Search Engine ใดที่จะค้นหาข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งหมดได้ ดังนั้นเมื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบใน Search Engine ตัวหนึ่ง ควรลองใช้ Search Engine อื่น ๆ อีก เพราะนอกจากจะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว อาจทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้น
3. การค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (Keyword)  - คำที่ใช้เป็นหลักในการค้นหา จำเป็นต้องมีความเฉพาะเจาะจง หรือเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ Search Engine ทำการค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามความต้องการ และมีผลลัพธ์ไม่มากเกินไป ทำให้ไม่เสียเวลาอ่านผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง ได้แก่ ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงงานพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ และเคยได้ยินชื่อโครงงานว่าชื่อ BUDSIR เราจึงใช้คำว่า “BUDSIR” เป็น Keyword ในการค้นหา
ต้องการตรวจสอบผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2546 สามารถระบุคำว่า “ผล entrance ปี 46” เป็น Keyword สำหรับ Search Engine ที่รองรับการสืบค้นภาษาไทย 
4. ใช้ Advanced Search  - ในหลายกรณีที่ไม่อาจหาคำที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาได้ จึงจำเป็นต้องใช้หลาย ๆ คำประกอบกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการ Search Engine ส่วนมากจะรองรับการค้นหา โดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า Boolean Operator ต่อไปนี้ 
          AND เป็นการบังคับการค้นหา โดยให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีคำทั้งหมดที่เราใส่ไว้ เช่น เมื่อทำการค้นหาคำว่า cloning AND dolly ผลลัพธ์ที่ออกมาต้องมีทั้งคำว่า cloning และ dolly ด้วย โดยปกติแล้ว Search Engine ทั่วไปมักใช้ AND เป็นกฎเกณฑ์ในการค้นหาอยู่แล้วเมื่อใส่คำมากกว่า 1 คำในการค้นหา ดังนั้นเมื่อค้นหาคำว่า cloning dolly จะให้ผลเหมือนกับ cloning AND dolly
          OR เป็นการบังคับการค้นหาให้ผลลัพธ์มีทั้งคำที่ 1 หรือ คำที่ 2 (หรือทั้ง 2 คำ) กรณีนี้ มีการใช้ไม่มากนัก
เนื่องจากจะได้ผลลัพธ์มากกว่าการใช้ AND แต่หลาย Search Engine ก็รองรับคำสั่งนี้
          NOT เป็นการระบุให้ Search Engine ค้นหาคำโดยตัดคำที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น กรณีที่ค้นหาคำว่า cloning NOT dolly ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า cloning แต่ไม่มีคำว่า dolly
          * ใช้ในการหาเฉพาะส่วนของคำ ซึ่งทำได้เฉพาะในบาง Search Engine เท่านั้น
          Phrase เป็นการค้นหาโดยใช้วลี เช่น “genetic engineering” ผลลัพธ์ที่ได้ ต้องมีคำที่ 1 ตามด้วยคำที่ 2 เท่านั้น
          วิธีการใช้คำสั่ง Boolean Operator เหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละ Search Engine ผู้ใช้บริการควรอ่านวิธีการค้นหาของ Search Engine แต่ละแห่งก่อนใช้งาน ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในลักษณะ Advanced Search นี้มักเป็นลักษณะให้เลือกเติมคำเฉพาะเองด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ 
ที่มา www.cc.mahidol.ac.th

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
-  รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
-  พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายวีดิทัศน์ เครื่องเอกซเรย์
  2. เทคโนโลยีที่ใช้วนการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูล เป็นเสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรเอทีเอ็ม
  3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เอ็มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
  4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
  5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่านไมโครฟิล์ม
  6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูลได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครอข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

มีกานำเอาเทคโน,ยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในแทางธุรกิจ และทางการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
-  ระบบเอทีเอ็ม
-  การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต
-  การลงทะเบียนเรียน

พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร ?

     การแสดงออกทางความคิดแลพความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการการจัดหา จัดเก็บ สร้างเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆได้แก่
ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

การใช้อินเตอร์เน็ต
     งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษษพบว่า

นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน้ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การ
ติดตามข่าวสารของสถานศึกษา

ใช้อินเตอร์เน็ต ทำอะไรบ้าง ?
     งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อน ๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษษส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบการทำรายงาน

สถานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

     งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน

นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรื่อมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง ?

     งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-Learning วิดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  • การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
  • บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Aided Instruction )
  • วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - books) 
  • ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e - Library)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e - Learning) เรียนรู้ผ่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย 
ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดิโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บบราว์เซอร์ (Web Browser)
โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learning for all : anyone anywhere and anytime)


บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI) คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณาเป็นอย่างดีโดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมุลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมิเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียงและ/หรือ ทั้งภาพแลเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก การนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบโดบอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฏีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฏีการวางเงื่อนไชปฏิบัติ (Ope rant  Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าหรือการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสุ่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตรเองและมีผลย้อนกลับทันทีและและเรียนรู้ได้ทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตวามความต้องการและความสามารถของตน

วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD) คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเะลือกดูภาพยนตร์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า "To view whet one wants, when one wants". โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร
(Telecommunications Networks) ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Video Client) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมวิดิโอนั้น ๆ โดยสามารถย้นกลับ (Rewind)
หรือกรอไปข้างหน้า(Forward) หรือหยุดชั่วคราว (Pause)ได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอรืลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันหล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือ
ต่างกันก็ได้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - books) คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต โดยมี
เครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟตืแวร์ที่ใช่อ่านข้อความต่าง ๆ ตัวย่างเช่น ออเกไนท์เซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น 

ส่วนการดึงข้อมูล e - books ซึ่งจะอยุ่บนเว็ปไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โลหดผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักณะไฟล์ของ e - books หากนักเขียนหรือนักพิมพ์ต้องการสร้าง
e - books สามารถเลือกได้ 4 รูปแบบคือ Hyper Text Markup Language (HTML) , Portable Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e - library) เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมุลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  •  คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้ คือ
  1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอรื
  2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
  3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกความติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
  4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสุ่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
PC 54504 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร

ความหมายของสารสนเทศ
  • สารสนเทศ หมายถึง ข่างสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้ยภายในองค์การต่าง ๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้น ๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ ในการนำไปใช้ปฏิบัติ

สารสนเทศ มีความหมายตามตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกันดังนี้
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลทั้งด้านปริมาณทั้งด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบและวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช่ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร ?
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (IT) Information and Communication Technology เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผลสารสนเทศ
  • องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2  ส่วน คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ
เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

  1. เทคโลโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีของสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจาก
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล
และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อย ที่สำคัญได้ 2 ส่วน
คือ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์

1.1  เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้น เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1.1.1  หน่วยรับข้อมูล
1.1.2  หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู : CPU (Central Processing Unit)
1.1.3  หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
1.1.4  หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)

1.2  เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.2.1  ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
1.2.2  ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
      2.  เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช่ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่น ๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา
- มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้มีการสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ
เพื่อการจัดการศึกษา

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้างบนทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพ และ
มีความต่อเนื่อง สงเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการ
ประจำ(Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมการดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราห์ผลงานของผู้บริหารของระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอรืเพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานนำไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช่ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
  • ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.  ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2.  ใช้ในการวงแผนการบริหารงาน
3.  ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.  ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5.  เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
  • สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีประริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก
การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณืเทคโนโลยีสารสนเทสประเภทต่าง ๆ เช่น ดาวเทียวสื่อสาร
ใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่าง ๆ
เช่น  ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำ
ของโอกาสทางการศึกษาการเป็นเครื่องมอ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรบครู
Information and Communication Technology for Teachers
รหัส PC54504 3(2-2-5)
คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือกการเข้าถึงสารสนเทศทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฎิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Assignment 1

1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ตามความเข้าใจของนักศึกษา

- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ

-เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (Communication Technology) หมายถึง "สื่อที่ช่วยในการถ่ายทอดสารไปยังผู้รับสาร" ซึ่งช่วยในการสื่อสารของมนุษย์สามารถกระทำได้ง่ายรวดเร็ว กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. Cyber Bully หมายถึงอะไร หรือปรากฏการณ์ใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง

Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งกันทางสื่ออิเล็คโทรนิกส์กำลังกลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันเสียหน่อยดีกว่าว่านักเลงไซเบอร์และการกลั่นแกล้งแบบดิจิตัลมีลักษณะอย่างไร

พ่อแม่หลาคนกังวลเรื่องความปลอดภัยในโลกออนไลน์ของลูกๆโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ แต่พบว่าการกลั่นแกล้งกันในโลกไซเบอร์ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่น และมักจะมาจากนักเลงไซเบอร์ที่เป็นวัยรุ่นด้วยเช่นกัน โดยเกิดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใดก็ได้ ทุกเวลา ทุกที่ รวมถึงสถานที่ที่น่าจะปลอดภัยที่สุดอย่างที่บ้านด้วย

Cyberbullying คืออะไร?
การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, เมสเสจ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเอง

การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้น

นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้

ทำไมนักเลงไซเบอร์ถึงมีมากขึ้น
มีหลายทฤษฎีอธิบายว่าการเพิ่มขึ้นของการประทุษร้ายออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่มีลักษณะชอบแกล้งผู้อื่นอยู่แล้ว เปลี่ยนวิธีการมาใช้อินเตอร์เน็ตแทนการแกล้งโดยตรงที่โรงเรียนเนื่องจากปลอดภัยจากสายตาของผู้ใหญ่มากกว่า

แม้เว็บไซต์หลายแห่งมีผู้ดูแลเป็นผู้ใหญ่และสามารถควบคุมให้ผู้ใช้บริการรักษากติกาและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ แต่นักเลงไซเบอร์ก็อาจป้วนเปี้ยนแถวๆ นั้นและหาโอกาสจ้องทำร้ายด้วยการเอาคำพูดของผู้ดูแลไปปรับเปลี่ยนให้ดูแย่ลง หรือปล่อยข่าวลือด้านลบต่อเว็บไซต์แห่งนั้นได้เช่นกัน

ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ประกาศใช้พรบ.ป้องกันการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และยอมรับว่าผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงไซเบอร์เป็น อาชญากรด้วย แม้แต่การเขียนคอมเมนต์ที่เป็นการสบประมาทในเรื่องเชื้อชาติ, ศาสนา, เผ่าพันธุ์, หรือเพศก็จัดเป็นการกระทำผิดด้วยเช่นกัน



ตัวอย่าง

Cyber bullying คือการรังแกระหว่างเด็กด้วยกันผ่านสื่อไซเบอร์ อันได้แก่ อินเตอร์เนตและโทรศัพท์มือถือ รูปแบบการรังแกประเภทนี้มีตั้งแต่การนินทาด่าทอ การส่งต่อข้อมูลที่เป็นความลับของคนอื่นโดยมีเจตนาให้บุคคลนั้นได้รับความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงการใส่ร้ายให้อีกฝ่ายเสื่อมเสีย เช่น กล่าวหาว่าเป็นโสเภณีหรือเป็นเกย์ ผ่านการส่งต่อทางอีเมล์ โดยฝ่ายที่เป็นเหยื่อในการกล่าวหา จะไม่สามารถรู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ

งานสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyber bullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ

ความรุนแรงของการทำร้ายกันผ่านโลกไซเบอร์ ที่พบเห็นในเมืองไทย มีมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น เด็ก ที่เป็นเหยื่อต้องลาออกจากโรงเรียน อยู่ในภาวะเครียด นอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล แต่ในประเทศญี่ปุ่น วงจรนี้รุนแรงถึงขั้นเด็กฆ่าตัวตายและฆ่าเพื่อนที่คิดว่าเป็นผู้กระทำ

โดยช่วงเวลาที่เด็กไทยมักอยู่ใน วงจร Cyber bullying คือช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตและทำการบ้าน แนวโน้มของการใช้ความรุนแรงลักษณะนี้ จะเกาะกินพฤติกรรมของลูกและจะมีเพิ่มมากขึ้น หากเด็กๆ ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และขาดการแนะนำหรือช่วยกันเลือกใช้แต่ด้านที่มีประโยชน์ จากจอคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต