Welcome to the online world./

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Assignment 1

1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ตามความเข้าใจของนักศึกษา

- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ

-เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (Communication Technology) หมายถึง "สื่อที่ช่วยในการถ่ายทอดสารไปยังผู้รับสาร" ซึ่งช่วยในการสื่อสารของมนุษย์สามารถกระทำได้ง่ายรวดเร็ว กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. Cyber Bully หมายถึงอะไร หรือปรากฏการณ์ใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง

Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งกันทางสื่ออิเล็คโทรนิกส์กำลังกลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันเสียหน่อยดีกว่าว่านักเลงไซเบอร์และการกลั่นแกล้งแบบดิจิตัลมีลักษณะอย่างไร

พ่อแม่หลาคนกังวลเรื่องความปลอดภัยในโลกออนไลน์ของลูกๆโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ แต่พบว่าการกลั่นแกล้งกันในโลกไซเบอร์ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่น และมักจะมาจากนักเลงไซเบอร์ที่เป็นวัยรุ่นด้วยเช่นกัน โดยเกิดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใดก็ได้ ทุกเวลา ทุกที่ รวมถึงสถานที่ที่น่าจะปลอดภัยที่สุดอย่างที่บ้านด้วย

Cyberbullying คืออะไร?
การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, เมสเสจ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเอง

การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้น

นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้

ทำไมนักเลงไซเบอร์ถึงมีมากขึ้น
มีหลายทฤษฎีอธิบายว่าการเพิ่มขึ้นของการประทุษร้ายออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่มีลักษณะชอบแกล้งผู้อื่นอยู่แล้ว เปลี่ยนวิธีการมาใช้อินเตอร์เน็ตแทนการแกล้งโดยตรงที่โรงเรียนเนื่องจากปลอดภัยจากสายตาของผู้ใหญ่มากกว่า

แม้เว็บไซต์หลายแห่งมีผู้ดูแลเป็นผู้ใหญ่และสามารถควบคุมให้ผู้ใช้บริการรักษากติกาและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ แต่นักเลงไซเบอร์ก็อาจป้วนเปี้ยนแถวๆ นั้นและหาโอกาสจ้องทำร้ายด้วยการเอาคำพูดของผู้ดูแลไปปรับเปลี่ยนให้ดูแย่ลง หรือปล่อยข่าวลือด้านลบต่อเว็บไซต์แห่งนั้นได้เช่นกัน

ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ประกาศใช้พรบ.ป้องกันการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และยอมรับว่าผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงไซเบอร์เป็น อาชญากรด้วย แม้แต่การเขียนคอมเมนต์ที่เป็นการสบประมาทในเรื่องเชื้อชาติ, ศาสนา, เผ่าพันธุ์, หรือเพศก็จัดเป็นการกระทำผิดด้วยเช่นกัน



ตัวอย่าง

Cyber bullying คือการรังแกระหว่างเด็กด้วยกันผ่านสื่อไซเบอร์ อันได้แก่ อินเตอร์เนตและโทรศัพท์มือถือ รูปแบบการรังแกประเภทนี้มีตั้งแต่การนินทาด่าทอ การส่งต่อข้อมูลที่เป็นความลับของคนอื่นโดยมีเจตนาให้บุคคลนั้นได้รับความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงการใส่ร้ายให้อีกฝ่ายเสื่อมเสีย เช่น กล่าวหาว่าเป็นโสเภณีหรือเป็นเกย์ ผ่านการส่งต่อทางอีเมล์ โดยฝ่ายที่เป็นเหยื่อในการกล่าวหา จะไม่สามารถรู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ

งานสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyber bullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ

ความรุนแรงของการทำร้ายกันผ่านโลกไซเบอร์ ที่พบเห็นในเมืองไทย มีมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น เด็ก ที่เป็นเหยื่อต้องลาออกจากโรงเรียน อยู่ในภาวะเครียด นอนไม่หลับ และเป็นโรควิตกกังวล แต่ในประเทศญี่ปุ่น วงจรนี้รุนแรงถึงขั้นเด็กฆ่าตัวตายและฆ่าเพื่อนที่คิดว่าเป็นผู้กระทำ

โดยช่วงเวลาที่เด็กไทยมักอยู่ใน วงจร Cyber bullying คือช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กใช้อินเตอร์เน็ตและทำการบ้าน แนวโน้มของการใช้ความรุนแรงลักษณะนี้ จะเกาะกินพฤติกรรมของลูกและจะมีเพิ่มมากขึ้น หากเด็กๆ ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และขาดการแนะนำหรือช่วยกันเลือกใช้แต่ด้านที่มีประโยชน์ จากจอคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น